The Tower of babel

 

เรื่องTowerofBabelนั้นเป็นเรื่องที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นตำนานที่อยู่ในไพ่หมายเลขที่16ซึ่งก็คือไพ่Tower ซึ่งเป็นไพ่ของความสับสนอลหม่าน ซึ่งหลายท่านทราบกันอยู่แล้ว แต่ว่าลองอ่านกันอีกซักรอบนะคะเป็นการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับไพ่ทาโรต์พร้องทั้งนี้กระติ๊บน้อยได้นำเรื่องของหอคอยบาเบลในแง่เชิงประวัติศาสตร์และศาสนามาให้อ่านกันค่ะ

 

“ปฐมกาล”11 

คนทั้งหลายทั่วโลก มีภาษาพูดอย่างเดียวกัน ครั้นเมื่อพากันเที่ยวไปทิสตะวันออก ก็ได้พบแผ่นดินราบในเมืองซีนาร ก็เลยตั้งอยู่ที่นั่น แล้วต่างคนก็ต่างพูดกันว่า มาเถิด  ให้เราทำอิฐเผาให้สุกแข็ง เขาจึงมีอิฐใช้ต่างหิน และมียางโซมารใช้ต่างปูน

เขาทั้งหลายปรึกษากันว่า มาเถิดให้เราสร้างเมืองขึ้น และก่อหอสูง ให้มียอดเทียมฟ้า เพื่อเราจะได้มีชื่อเสียงไว้  ไม่ต้องกระจัดกระจายไปทั่วโลก

 

ฝ่ายพระยะโฮวาจึงเสด็จทอดพระเนตร หอที่มนุษย์ได้ก่อสร้างขึ้นนั้น แล้วพระยะโฮวาตรัสว่า จงดูเถิดคนทั้งปวงก็เป็นแต่พวกเดียว มีภาษาอย่างเดียวกัน เขาจึงลงมือกระทำอย่างนี้ แล้วปรัเดี๋ยวจะห้ามเขาไม่ให้ทำสิ่งที่เขาคิดจะทำนั้นก็ไม่ได้

ให้เราลงไป ทำให้ภาษาของเขาวุ่นวายต่างกันไป อย่าให้เขาพูดเข้าใจกันได้

พระยะโฮวาจึงบันดาลให้เขาพลัดพลากจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก  คนทั้งหลายก็เลิกการสร้างเมืองนั้นเสีย เหตุฉะนี้จึงเรียกหอนั้นว่าบาเบล

เพราะว่าที่นั่นพระยะโฮวาทรงบันดาลภาษาของเขาให้วุ่นวายไป และพระยะโฮวาให้เข้าทั้งหลายพลัดพลากจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก

 

 

ในภาคพันธสัญญาเดิมนั้น เล่าไว้ว่าหลังจากน้ำท่วมโลก มนุษย์ทุกเผ่าพันธ์ในตะวันออกกลาง ซึ่งล้วนแต่เชื้อสายมาจากบุตรทั้งสามของโนอาร์ ซึ่งได้แก่ เชท ฮาม จาเฟต ต่างอาศัยอยู่ร่วมกัน พูดภาษาเดียวกัน ระหว่างเร่ร่อนข้ามที่ราบทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียมาถึงแผ่นดินชีนาร์ซึ่งเป็นที่ราบแห่งหนึ่งในบาบิโลเนีย  ก็ตัดสินใจว่าจะตั้งถิ่นฐานที่นี่เป็นการถาวร ลูกหลานของเชมเผาอิฐได้จึงได้ใช้อิฐสร้างเมืองและหอคอย ที่ยอดสูงถึงสวรรค์  เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง  พระเจ้าจึงทรงให้มนุษย์พูดกันคนละภาษาเป็นเหตุให้ต้องเลิกสร้างเมืองและหอคอย และพากันแยกย้ายไปตามที่ต่างๆทั่วโลก

 

ในเรื่องหอคอยนี้ มีคนสันนิฐานว่าน่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากซิกูแรต(Ziggurat) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายปิรามิดเป็นแบบขั้นบันใด ซึ่งชั้นบนสุดเป็นวิหารที่สร้างถวายเทพองค์ต่างๆ ซึ่งซิกูแรตนี้มีหลายแห่งมากตามแถบเมโสโปเตเมีย….หอสูงที่ว่านี้จึงมีชื่อว่าบาเบล ซึ่งแปลว่าความสับสนอลหม่าน เมืองนั้นก็เลยได้ชื่อเมืองบาเบล หรือบาบิโลนนั่นเอง

 

นักโบราณคดีเชื่อว่า เมื่อเนบูคัดเนสสาร์ทรงกวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาสที่กรุงบาบิโลนนั้น ชาวยิวทั้งหลายได้เห็นสถาปัตยกรรม ซิกกูรัท ในกรุงนั้นอยู่แล้ว ประกอบชาวบาบิโลนพากันเหยียดหยามพระเจ้าของชาติอื่น โดยเฉพาะพระผู้เป็นเจ้าของชาวเฮบรูแห่งยูดาห์ที่บาบิโลนพิชิตมาได้   จะโดนดูถูกดูหมิ่นมากเป็นพิเศษ ดังในหนังสือเล่าเรื่องพระคัมภีร์ไบเบิลตอนหนึ่งว่า

 

“.....ชาวบาบิโลนเป็นชนชาติที่หยิ่งยะโสและเป็นพวกที่เคร่งในศาสนามาก เขานับถือพระหลายองค์ เขาสร้างรูปเคารพและวิหารไว้มากมาย เพื่อให้เกียรติยศแด่พระทั้งหลายของเขา  วิหารของเขานั้นสร้างเป็นรูปหอสี่เหลี่ยมตั้งเป็นชั้นๆ  ชั้นข้างบนเล็กกว่าชั้นข้างล่างนิดหน่อย ในวิหารซึ่งอยู่ชั้นยอดสุดนั้นเขาเชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระ

 

พระที่เป็นหัวหน้าท่ามกลางพระทั้งหลายคือ พระเมโรดัค แม้กษัตริย์เนบูคัดเนสสาร์ก็โน้มตัวลงกราบไหว้เป็นพระที่เนบูคัดเนสสาร์เรียกว่า  ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพระทั้งหลาย กษัตริย์แห่งสรวงสวรรค์และแผ่นดินโลก    เนบูคัดเนสสาร์ได้ทำลายกรุงเยรูซาเรมเสียในปี๖๐๗ ก่อนปี ค.ศ. .....ประชาชนแห่งบาบิโลนพากันดูถูกดูหมิ่นพระยะโฮวา   เขากล่าวว่าพระองค์เป้นพระเจ้าที่อ่อนแอไม่สามารถคุ้มครองไพล่พลของพระองค์ได้  เยรูซาเร็มไม่ใช่นครของพระบรมกษัตริย์ยะโฮวาหรอกหรือ?  ไม่ไช่เมโรดัค

พระของพวกเขาหรอกหรือที่ทำลายเยรูซาเลมและพระวิหารบนยอกเขาโมรียานั้นเสีย ทั้งนี้ไม่เป็นข้อพิสูนจ์หรอกหรือว่า  พระเมโรดัคเป็นพระที่มีอำนาจกว่าพระยะโฮวา?

 

ชาวบาบิโลนพากันหัวเราะเยาะในขณะที่เขายกคำถามเหล่านี้ถึงถามชาวยิวที่เป็นทาสของเขานั้น  สิ่งที่เขาไม่ทราบนั้นก็คือเมโรดัคพระของพวกเขา ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก ซาตานพญามารเอง     และมีอยู่อีกสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ก็คือพระยะโฮวาได้ปล่อยให้เขาทำลายกรุงเยรูซาเลมและนำประชาชนของพระองค์ไปเป็นทาสก็เพื่อลงพระอาชญาพลไพร่ของพระองค์ต่างหาก   เขาคิดว่าการที่เขากระทำเช่นนั้นก้เพราะกองทัพและอำนาจแห่งพระเขาเอง”

 

จากบทที่คัดมาย่อๆจะเห็นว่า เมื่อชาวยิวถูกต้อนเข้าไปเป็นทาสในกรุงบาบิโลนนั้น พวกเขาได้เห็นหอบาเบลอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว ซึ่งแสดงว่าบาเบลในพระคัมภีร์สร้างมาก่อนสมัยของเนบูคัดเนสสาร์

 

ซึ่งก็เป็นความจริง   หอคอยแบบบาเบลนี้สร้างกันทั่วไปในดินแดนเมโสโปเตเมีย ก่อนหน้าที่เนบูคัดเนสสาร์จะประสูตินานมาก ไม่ว่าจะเป็นนครเออร์ของสุเมเรียน นิเนเวห์ของอัสซีเรีย และบาบิโลนของบาบิโลเนีย  ล้วนแต่มีสิ่งปลูกสร้างสูงๆที่เรียกว่าซิกูรัทอยู่ด้วยกันทั้งนั้น   

คำว่าบาเบลที่ชาวยิวบอกว่ามาจากคำกิริยาในภาษาฮีบรู บาลาล (Balal) ซึ่งแปลว่ายุ่งยากสับสนอลหม่าน นั้น นักโบราณคดีบอกว่า ไม่ใช่อย่างนั้นหรอกคำว่าบาเบล มาจากภาษาบาบิโลน  บาบอิลลี  (Babili) ที่แปลว่าทวารแห่งเทพ (Gate of God) ต่างหาก

 

อาลักษณ์ของพระเจ้าเนบูคัดเนสสาร์เองได้บันทึกไว้ในแผ่นดินเผาชัดเจนว่า ซิกกูรัทบาเบลได้สร้างมานานแล้ว แต่ได้มาปฏิสังขรใหม่ในสมัยของนาโบดพลัสสาร์ พระราชบิดาของเนบูคัดเนสสาร์ ครั้นพอถึงสมัยของกัตริย์พระองค์นี้ จึงทรงได้ทำการตกแต่งประดับประดาเพิ่มเติมใหม่อย่างภาษาบ้านเราก็ต้องพูดว่าท่านทำแบบอลังการงานสร้าง จนชาวยิวที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นทาสเห็นแล้วบังเกิดความหมั้นไส้  เพราะชาวบาบิโลเนียนก็คงเหมือนชาวเมืองที่ยิ่งใหญ่ทุกแห่งในยุคโบราณที่ลำพองว่าเมืองของตนเป็นศุนย์กลางของโลก ดูถูกดูหมิ่นชาติอื่นตลอดจนพระเจ้าของชาติอื่นด้วย  ชาวยิวจึงได้เขียนเรื่องราวของหอบาเบลและ WickedBabylonซึ่งยำซะเละเลย อย่างที่อ่านในตอนต้นล่ะค่ะ

 

สรุปเลยว่าหอคอยคนบาปในพระคัมภีร์มีจริง  ซึ่งในเรื่องนี้เฮโรโดตัส ได้เขียนถึงบาเบลแห่งบาบิโลนว่า      “ บนยอดหอนั้น  มีมหาวิหารตั้งสถิตย์อยู่  เป็นวิหารอันงดงามบรรเจิด  ด้วยเครื่องประดับเป็นประกายวูบวาบ  ภายในวิหารก็ดาดไปด้วยทองคำ  บนที่บูชาใหญ่ปราศจากเทวรูป  และทุกหนแห่งปราศจากผู้คน  เว้นแต่ภิกษุณีรูปงามเท่านั้น- แม้ข้าจะมิเชื่อนัก-จอมเทพมาร์ดุคจะเสด้จลงมาจากสรวงสวรรค์มาสู่วิหารนี้ในรูปลักษณ์แห่งบุรุษเพศแลจะประทับบรรทมบนแท่นร่วมกับภิกษุณีโฉมงามที่ทรงเลือกแล้ว”

 

เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชเสด็จเข้าสู่บาบิโลนนั้น  ซากซิกูรัทบาเบลยังคงปรากฏให้เห็น แต่ว่าพังลงไปมากแล้ว    อเล็กซานเดอร์ทรงเป็นมหาราชที่รักโบราณคดีพอๆกับรักสงครามทรงคิดจะปฏิสังขรหอบาเบลเสียใหม่ แต่ทว่าเพียงแต่กวาดล้างสิ่งปรักหักพังที่ทับถมรอบซิรูรัทออกไปก็ต้องใช้คนนับพันทำการเก็บกวาดนานถึงสองเดือน  เหล่านั้นนั้นไม่เล่นด้วย พระองค์ก็เลยเลิกร้างความตั้งพระทัยนี้ไปเสีย

 

หนังสือเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกและนครมหัศจรรย์ทั่วโลก   โดยทีมงานต่วยตูน

 

 

Visitors: 375,631