Carl Jung and tarot

 

 

นักจิตวิทยาชื่อก้องโลกอย่าง “คาร์ลจุง” ได้เข้ามาศึกษา และเค้าได้อธิบายการที่ไพ่ยิปซีสามารถใช้ในการทำนายอนาคตได้ว่าเป็น “เหตุการณ์คล้องจอง” (synchronicity)

เขากล่าวว่า การพยากรณ์ด้วยไพ่tarot ก็เหมือนกับการพยากรณ์ชีวิตในแบบอื่นๆ คือเป็นเรื่องของการค้นหาความหมายจากเหตุการณ์ต่างๆที่ดูเหมือนว่าเกิดขึ้นโดยเหมือนเรื่องบังเอิญนั่นเอง....แต่สิ่งที่ทำให้การพยากรณ์แตกต่างจากสิ่งอื่นๆก็คือ การทำนายดวงชะตาไม่ว่าจะมาจากศาสตร์ไหนๆนั้นมีต้นกำเนิดมาจากตรงที่เชื่อว่าเรื่องบังเอิญนั้นมันไม่บังเอิญ ! ซึ่งก็คือรอภาวะที่เหมาะสมเหตุการณ์ที่ซ่อนอยู่ก็จะเกิดขึ้นโดยขจัดภาวะที่ไม่เหมาะสมออกไปหมด

ทฤษฎีของ Jung สามารถอธิบายได้ว่าสิ่งที่เป็นลางบอกเหตุนั้นทำงานอย่างไร การเกิดขึ้นพร้อมกันหมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมกันของเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับไม่สามารถอธิบาย อย่างไรก็ตาม หากการเกิดขึ้นพร้อมกันที่ว่านี้เป็นจริง การสุ่มเลือกไพ่เพื่อบอกเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้

หน้าที่ของอัตตาทั้งสี่

จุงแบ่งประเภทของเป็นคนประเภทปิดตัวเอง และคนประเภทเปิดเผย แต่จากมุมมองของ tarot คนแบ่งออกได้ถึง 4 ประเภทตามหน้าที่ทั้ง 4 ของจิตใจคือ ความคิด ความรู้สึก (อันเกิดจากสรรพสิ่ง) ความรู้สึก (จากประสาทสัมผัสทั้ง 5) และการรู้โดยสัญชาตญาณ จุงเขียนไว้ในงานชิ้นสุดท้ายของตนเรื่อง มนุษย์ และสัญลักษณ์ของมนุษย์ ว่า:

“หน้าที่ทั้ง 4 ประเภทสอดคล้องกับวิธีการที่ความมีสติได้ตัวชี้นำในการหาประสบการณ์อย่างเห็นได้ชัด ความรู้สึก (จากประสาทสัมผัสทั้ง 5) (ซึ่งก็คือการรับรู้ความรู้สึก) บอกให้เรารู้ว่าสิ่งใดมีอยู่จริง ความคิดบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไร ความรู้สึก(อันเกิดจากสรรพสิ่ง) บอกว่าเรายอมรับสิ่งนั้นได้หรือไม่ และการรู้ด้วยสัญชาตญาณบอกเราว่าสิ่งนั้นมาจากที่ใด และจะไปยังที่ใด”

จุงจัดวางหน้าที่เหล่านี้ให้เป็นคู่ 2 คู่ตรงข้ามกัน (หน้าที่ส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผล คือความคิด และความรู้สึก (อันเกิดจากสรรพสิ่ง) หน้าที่ส่วนที่เกี่ยวกับความรู้สึกคือ ความรู้สึก (จากประสาทสัมผัสทั้ง 5) และการรู้โดยสัญชาตญาณ) เป็นการแนะว่าคนที่ใช้ด้านหนึ่งของคู่มาก จะมีอีกด้านที่พัฒนาช้ากว่า หรือถึงขนาดไม่ได้รับการพัฒนาเลย

หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรู้ตัวมากที่สุดในตัวบุคคลเรียกว่าหน้าที่หลัก ส่วนหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรู้ตัวมากที่สุดของคู่ที่เหลือเรียกว่าหน้าที่เสริม ด้านตรงข้ามของหน้าที่หลักโดยมากมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการพัฒนา และไม่รู้สึกตัว และด้านที่ตรงข้ามกับหน้าที่เสริมก็อาจจะไม่ได้รับการพัฒนา และไม่รู้สึกตัวเช่นเดียวกัน

ฉะนั้นหน้าที่ 3 หน้าที่โดยปกติจะมีความรู้สึกตัวอยู่ในระดับหนึ่ง กับจิตใต้สำนึกที่สี่ (ด้านที่ตรงข้ามกับหน้าที่หลัก) หน้าที่ที่ด้อยกว่าต้องได้รับการพัฒนาโดยการใช้หน้าที่ส่วนนี้เพื่อให้คนสมบูรณ์ จุงกล่าวไว้ว่า “เพื่อจะกำหนดทิศทางได้อย่างสมบูรณ์ ควรใช้หน้าที่ทั้งสี่เท่าๆกัน”

หน้าที่ทั้งสี่ของจุงทำให้เราเข้าใจเรื่อง ไมเนอร์ อาร์คานา มากขึ้น และในทางตรงกันข้ามไพ่ก็สามารถช่วยเรื่องการสำรวจลักษณะทางจิตได้

หน้าที่ตามแบบของจุง จุดเน้น ชุดไพ่ ธาตุ

การรู้โดยสัญชาตญาณ การได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว, ความจริงในจิตใจ ไพ่ไม้ ธาตุไฟ

ความรู้สึก (อันเกิดจากสรรพสิ่ง) อารมณ์, ความรู้สึกร่วม ไพ่ถ้วย ธาตุน้ำ

ความคิด เชาวน์ปัญญา, ความเที่ยงธรรม ไพ่ดาบ ธาตุลม

ความรู้สึก (จากประสาทสัมผัสทั้ง 5) เป้าประสงค์, ความจริงภายนอก ไพ่เหรียญ ธาตุดิน

คำอธิบายทั้ง 3 ของแต่ละหน้าที่ดูเหมือนจะถูกต้องทุกประการ (มีข้อสังเกตว่าบางคนอาจสลับคำอธิบายของการรู้โดยสัญชาตญาณ กับความรู้สึก(อันเกิดจากสรรพสิ่ง)) ทว่าการรู้โดยสัญชาตญาณสอดคล้องกับคทา และไฟหรือ การรู้โดยสัญชาตญาณ ในฐานะที่เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสร้างสรรค์ และเป็นผู้ริเริ่มสิ่งต่างๆ เข้ากับคำอธิบายของจุงได้ดี จุงเขียนไว้ว่า

“การรู้โดยสัญชาตญาณมิใช่เป็นเพียงการรับรู้ หรือการมองเห็นเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการอันชาญฉลาดที่ดำเนินอยู่เพื่อรับเอาสิ่งต่างๆเข้ามา มากเท่ากับที่เอาออกไป”

วิธีการขยายความที่ใช้ในการวิเคราะห์ของจุง ตั้งอยู่บนพื้นฐานในเรื่องความคิดเรื่องความสอดคล้องกัน เป้าหมายของการวิเคราะห์นี้คือเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์ และตัวเนื้อหาสัญลักษณ์มากขึ้น เมื่อภาพของความไม่รู้สึกตัวตามธรรมชาติปรากฏขึ้น เราต้องขยายความ และเน้นย้ำความหมายของภาพเหล่านั้นตามแนวทางการจัดการของเราเอง

ภาพของ tarot จะให้โครงร่าง แนวทาง เป็นเหมือนเสาบอกระยะทาง หรืออีกนัยหนึ่งคือทารอทเป็นเพียงโครงร่างคร่าวๆเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าภาพไพ่เหล่านี้คือการเดินทางที่ ไม่อาจคาดการณ์ได้ เมื่อใดก็ตามที่ระบบความคิดความเชื่อที่ชี้ให้เราเห็นความหมายของชีวิตไม่สามารถทำให้เราเชื่อมั่นได้ จินตภาพต้นแบบใดก็ตามที่สามารถสร้างระบบที่เป็นรูปแบบขึ้นมาได้ ย่อมกลายเป็นที่พึ่งพิงให้แก่จิตใจมนุษย์ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ความทรงจำทุกอย่างจากเทพนิยาย คติชาวบ้าน และ“วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์” เป็นสิ่งจำเป็นที่ยังคงต้องระลึกอยู่เสมอ ตราบเท่าที่มันยังคงเดินขนานคู่ไปกับสัญลักษณ์...

ผู้ที่เชื่อในศาสตร์ลึกลับอย่าง ดอกเตอร์ อาร์เธอร์ เอ็ดเวิร์ด ไวท์ให้ความเห็นเรื่อง tarot ของ Jungไว้อย่างชัดเจนว่า.....

“tarot เป็นตัวแทนที่เป็นสัญลักษณ์ของความคิดสากล โดยเบื้องหลังมีคำใบ้ในเรื่องจิตใจมนุษย์บอกเป็นนัยอยู่ และด้วยคำใบ้นี้ จึงถือได้ว่า tarot เป็นที่สิ่งเก็บคำสอนลึกลับ ซึ่งเป็นการเข้าใจถึงความจริงบางอย่างที่ฝังลึกอยู่ในความมีสติของมนุษย์ทุกคนอย่างแท้จริง”

เกี่ยวกับCarl Jung

คาร์ล กุสตาฟ จุง เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์เมื่อค.ศ. 1875 และเสียชีวิตเมื่อค.ศ. 1961 จุงพบความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาวิเคราะห์ กับการใช้จิตวิเคราะห์รักษาของซิกมัน ฟรอยด์ การค้นพบนี้ต่างจากแบบของฟรอยด์ โดยลดความสำคัญในเรื่องเพศ และปัญหาในวัยเด็กเพื่อรักษาโรคจิตประสาท และเน้นในเรื่องปัญหาที่ผู้ป่วยกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันมากกว่า

จุงได้คิดขั้นตอนสำคัญในการอธิบายความไม่รู้สึกตัวของคนว่าประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกันคือ ความไม่รู้สึกตัวของแต่ละคน (เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล) และความไม่รู้สึกตัวตามธรรมชาติ (มาจากโครงสร้างตามธรรมชาติของสมอง และความเป็นมนุษย์ธรรมดา)

คำอธิบายนี้สำคัญต่อการศึกษาเฉพาะกลุ่มในเรื่องที่ว่ามันโยงไปถึงการอธิบายพลังของระบบสัญลักษณ์แม่แบบเหมือนกับtarot อันที่จริงแนวคิดเรื่องแม่แบบต่างๆ ซึ่งก็คือสัญลักษณ์สากลสำคัญต่างๆที่ปรากฏอยู่ในนิยายปรัมปรา เทพนิยาย และความฝันต่างๆ คือส่วนสำคัญของแนวคิดของจุงในเรื่องความไม่รู้สึกตัว

จุงเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ความทรงจำ ความฝัน ภาพสะท้อน ว่า:

“ความไม่รู้สึกตัวตามธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งธรรมดาสำหรับเราทุกคน เพราะมันคือรากฐานของสิ่งที่คนโบราณเรียกว่า ‘ความรู้สึกร่วมของสรรพสิ่ง’”

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( ศุกร์, 24 เมษายน 2009 )

Visitors: 356,473