ใครสร้าง Tower of babel

 

จากเรื่อง The Tower of Babel ที่เล่าให้ฟัง(อ่าน)ไปแล้วนั้นมีการสรุปกันว่า หอคอยบาเบลแห่งนี้น่าจะมีอยู่จริง

 

แต่ว่าจริงๆแล้วนั้นน่าจะเป็นซิกูรัทที่ของชาวบาบิโลนเองสร้างขึ้นและไม่ใช่ว่าจะดูหมิ่นเหยีดหยามอะไรในพระเจ้า คนที่สร้างซิกูรัทนั้นนับถือพระเจ้าของพวกเขามาก (ซึ่งพระเจ้าของพวกเขานั้นมีหลายองค์  ไม่เกี่ยวกันกับพระเจ้าของชาวยิวและชาวคริสต์แต่อย่างใด)

 

ซึ่งเขาเหล่านั้นก็เช่นกับคนโบราณทั่วๆไปที่เชื่อว่าพระจ้าน่าจะอยู่ในที่สูง ดังนั้น ภูเขาจึงเป็นจุดเชื่อมสวรรค์กับโลก  แต่ดินแดนเมโสโปเตมียเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มองไปทางไหนก็มีแต่แม่น้ำไม่มีภูเขาซักลูก เขาเมืองจึงต้องคิดสร้างภูเขาขึ้นมาซักลูก เพื่อนที่จะได้ใกล้ชิดติดต่อพระเจ้าได้ง่ายขึ้น และพอทำก็เลยทำเป็นชั้นๆเป็นขั้นบันใดให้เดินง่ายๆ

 

ในปัจจุบัน นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเรื่องในพระคัมภีร์ดังกล่าวเป็นเรื่องโมเมจากชาวอิสราเอลที่อิจฉาชาวบาบิโลนมากกว่า

 

ที่มาของคำว่าซิกูรัทมาจากคำในภาษาอัคเคเดี้ยน ที่แปลว่า “ยอดเขา”  หรือคำว่า “เอเตเมนานกิ”  ซึ่งแปลว่า “บ้านหลักของสวรรค์และโลก”  นั่นเอง

 

แล้วใครสร้างหอบาเบล  หรือซิกูรัทนี้ขึ้น?

 

ตอบกันแบบกวนๆก็ต้องบอกว่าก็คนที่อยู่ในเมโสโปเตเมียซิ เนื่องจากเมโสโปเตเมียรุ่งเรื่องมาตั้งแต่สมัย๓๕๐๐ปีก่อน ค.ศ. และเป็นที่ราบลุ่ม ชัยภูมิดี ใครๆก็อยากได้ดินแดนแถบนี้  ไม่ว่าจะเป็นชาวสุเมเรียน ชาวอีแลมไมต์  ชาวอัสซีเรียน  ชาวบาบิโลเนียน และชาวเปอร์เชีย ซึ่งแต่ละเผ่าก็คงจะสร้างภูเขาเทียมขึ้นมาให้เทพเจ้าของตน    ซึ่งนักโบราณคดีสามารถขุดพบซากซิกกูรัทอย่างน้อย๓๐แห่ง รวมทั้งซิกกูรัทแห่งเอเตเมนานกิที่นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าเป็นหอบาเบลด้วย

 

ซิกกูรัทแห่งเอเตเมนานกิเป็นซิกรูรัทเก่าแก่ที่ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือในรัชสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ที่๒ ของบาบิโลน ซึ่งตอนนั้นบาบิโลนเพื่อจะหายบอบช้ำจากการโดนทัพของอัสซีเรียเข้ามาทำลายเมืองและมหาวิหารอย่างไม่มีชิ้นดี

 

กษัตริย์นาโบโปลัสซ่าร์พระบิดาของเนบูคัดเนสซาร์ ที่๒ทรงตั้งใจจะบูรณะให้ดีกว่าเก่าวังและวิหารบูชาเทพเจ้ามาร์ดุคที่จัดเป็นเทพสูงสุดถูกก่อสร้างขึ้นใหม่ด้วย ทอง  เงิน หินมีค่าจากภูเขา และท้องทะเล   แต่กษัตริย์นาโบโปลัสซ่าร์สิ้นพระชนม์ก่อนสร้างเสร็จ  พระราชโอรสคือเนบูคัดเนสซาร์ที่๒ ทรงรับผิดชอบจากความสูงระดับ๓๐คิวบิท (ประมาณ๔๕ฟุต)จนถึงยอด

 

วัสดุที่ใช้สร้างซิกกูรัทโดยทั่วไปคืออิฐ  อิฐที่ใช้เป็นอิฐหยาบทำจากดินนวดกับฟางสับละเอียด ปั้นเป็นก้อนตากแดดให้แห้งสนิทส่วนอิฐเผาเอาไว้สำหรับก่อเป็โครงร่างเท่านั้น วัสดุที่ใช้ฉาบคือแอสฟัลต์หรือยางมะตอยเหนียวจากที่ราบสูงอิหร่าน   

ตามบันทึกโบราณระบุว่าเมื่อสร้างเสร็จสูงถึง๙๑เมตร (กว่า๓๐๐ ฟุต) ฐานรากกว้างถึง ๓๐๐ ฟุต x ๓๐๐ ฟุต มีทั้งหมด๗ชั้น ชั้นบนสุดมีแท่นบูชาเทพเจ้ามาร์ดุคด้วย

 

มาร์ดุคถือเป็นเทพเจ้าประจำชาติมีอำนาจครอบคลุมทั่วถึงจักรวาล ทรงเป็นเทพอุปภัมภ์นักรบและเป็นเทพผู้คุ้มครองให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวเมือง  บนยอดของซิกกูรัทจะมีวิหารของเทพมาดุคอยู่ ภายในมีเก้าอี้นอนขนาดใหญ่ หุ้มผ้าอย่างดี และโต๊ะทองคำวางอยู่ข้างๆทั้งวิหารปราศจากรูปบูชาอย่างอื่น พระชาวคาลเดี้ยนซึ่งเป็นผู้ดูแลบอกว่าทุกคืนจะมีสตรีชาวบาบิโลเนียน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้มาถวายตัวต่อเทพมาร์ดุค  ขึ้นมาค้างในวิหารนี้คนเดียว ส่วนเทพมาร์ดุคจะเสด็จลงมาหรือเปล่านั้น เฮโรโดตัสบอกว่าน่าสงสัยอยู่แม้พระชาวคาลเดี้ยนจะยืนยันอย่างไรก็ตาม

 

จากหลักฐานที่พบในบันทึกโบราณยังบอกอีกว่า ชาวบาบิโลนเคร่งสาสนาไม่น้อยกว่าชาติใดในโลก ภายในบริเวณชั้นในของกรุงบาบิโลนที่กั้นไว้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาโดยเฉพาะ นอกจากซิกกูรัทและมหาวิหาร ของเทพมาดุคแล้ว ยังมีวิหารของเทพองค์อื่นๆอีกกว่า๕๐แห่ง สถานบูชาเทพมาดุคขนาดย่อมอีก๕๕แห่ง  สถานบูชาเทพองคือื่นบนโลกนี้อีก๓๐๐แห่ง และเทพบนสวรรค์อีก๖๐๐ และแถมด้วยแท่นบูชาเทพเจ้าใหญ่น้อยอีก๔๐๐แท่น แน่นแทบไม่มีที่เดินเลยทีเดียว

 

แต่พอ๒๕ปีหลังเนบูคัดเนสซาร์ ที่๒สิ้นพระชนม์ บาบิโลนก็ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งไม่ได้สนใจในศาสนสถานแห่งนี้ซิกกูแรกแห้ล่งเอเตเมนานกิจึงถูกปล่อยให้ทิ้งร้างและค่อยๆทรุดไปถึง ปี๓๓๑ก่อนค.ศ. ก็ไม่เหลือความยิ่งใหญ่ใดๆให้เห็นอีก ปัจจุบันเหลือแต่ฐานราก หลักฐานที่นักโบราณคดีใช้สนับสนุนว่านั่นคือหอคอยบาเบล มีเพียงบันทึกของเฮโรโดตัสและคนอื่นๆเพียงไม่กี่ชิ้น

 

แต่ซิกกูรัทแห่งเออร์(Ur)นั้น นอกจากยังคงสภาพค่อนข้างดี แล้วยังสามารถโยงช่วงระยะเวลาการสร้างให้เข้ากับเรื่องหอคอยบาเบลในพระคัมภีร์อีกด้วย   โดยพระคัมภีร์ระบุว่าหอบาเบลถูกสร้างช่วงระหว่างปี๒๑๑๘-๒๓๗๕ ก่อน ค.ศ. ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวสุเมเรียนกำลังมีอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียพอดี

 

ซิกกูรัทแห่งเออร์สร้างโดยกษัตริย์เออร์นัมมู (Ur-Nammu) (หลายคนสันนิบานว่าเป็นองค์เดียวกับกัตริย์นิมรอด ผู้บัญชาให้สร้างหอบาเบลในพระคัมภีร์ไบเบิล)

 

เป็นซิกกูรัทขนาด๓ชั้นมีบันใดและทางลาดขึ้นทั้งจากพื้นดินไปชั้นสูงสุดและระหว่างชั้นตกแต่งอย่างสวยงาม

ที่น่าทึ่งก็คือแม้ซิกกูรัทของเออร์จะทำให้หลายคนนึกถึงหอคอยบาเบลสัญลักษณ์ของความแตกแยกของมนุษยชาติ  แต่จริงๆแล้วมันกลับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนหลายเผ่าพันธ์   เห็นได้จากการซ่อมแซมหลายครั้ง หลายสมัย 

 

แม้แต่ตอนที่บาบิโลนเรืองอำนาจ   กษัตริย์เนบูคัสเนสซาร์เอง  เป็นคนสั่งให้สร้างยอดซิกกูรัทให้สูงขึ้นไปอีก ทั้งที่ซิกกูรัทดังกล่าวไม่ได้สร้างเพื่อถวานเพทมาร์ดุค แต่เพื่อ

เป็นบรรณาการแด่เทพนันนา หรือเทพจันทรา ซึ่งเป็นสิ่งเคารพของชาวเมืองมากเป็นพิเศษ  วิหารของนันนาตรงฐานก็ได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในสมัยนี้เช่นกัน

 

อ่านแล้วก็แล้วแต่คิดนะคะว่าซิกกูรัทเหล่านี้เป็นหอคอยบาเบลหรือเปล่า

 

ต่วยตูนพิเศษ  ฉบับที่๓๓๓  เดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๔๕  โดยเจ้ากระจอก

 

ภาพ : เวปวิกิพีเดีย

Visitors: 355,935