แพน (Pan) เทพเจ้าปีศาจ ไพ่ Devil

    

แพน (Pan) เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ แต่กลับมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ต่างจากเทพเจ้าองค์อื่นๆ คือ ใบหน้าแบะขาเป็นแพะ หูแหลม มีเขาเล็กๆคู่หนึ่งบนหัว ตลอดร่างปกคลุมด้วยขนสีดำ แม้ผู้เป็นพระมารดาเห็นโอรสแพนครั้งแรกยังส่งเสียงกรีดร้องและวิ่งหนี แต่เฮอร์เมส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี (Mercury) เทพเจ้าแห่งคนเดินทางกลับชอบใจในรูปร่างหน้าตาของแพน จึงนำไปที่วิมานโอลิมปัส (Olympus) เหล่าเทพเจ้าต่างทรงพระสรวลและโปรดปรานมาก

    แพนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ และถูกส่งไปอยู่ในบริเวณป่าทึบบริเวณภูเขาในประเทศกรีซ  ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองพวกพราน คนเลี้ยงแกะ แบะบรรดาแกะขนหยิก เมื่ออารมณ์ดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่วงคืนเดือนหงายเทพแพนจะเป่าปี่ของคนเลี้ยงแกะและกระโดดโลดเต้นอย่างสบายใจ  บรรดานางไม้ รุกขเทวดาและเหล่าอมนุษย์ครึ่งคนครึ่งสัตว์ต่างพากันเต้นรำไปตามเสียงเพลง

    ครั้งหนึ่งอะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งแสงสว่าง การดนตรีและกวีนิพนธ์ได้ท้าประลองเป่าขลุ่ยและเทพอะพอลโลเป็นผู้ชนะ  แต่โดยทั่วๆไปแล้วใครๆก็พอใจในเสียงดรตรีของเทพแพน

    บางครั้งเทพแพนกลับเป้นเทพเจ้าที่ว้าเหว่และเจ้าอารมณ์ บางทีก็กรีดร้องด้วยเสียงแหลมเย็นเข้ากระดูก ใครได้เห็นรูปร่างลักษณะของเทพเจาแพนมักจะกลัวจนต้องวิ่งหนีอย่างอกสั่นกวัญหาย  เมื่อใดที่รู้สึกเศร้าใจ เทพแพนมักจะไปซ่อนกายอยู่เพียงลำพังในถ้ำที่เย็นสบาย (ในยุคหลัง แพนกลายเป็นเทพแห่งความชั่วร้านตามลัทธิของพวกไสยศาสตร์  ในพิธีกรรมพวกพ่อมดหมอผีมักจะเรียกแพนมาร่วมพิธี แต่ไม่มีใครรู้ว่าแพนเสด็จมาจริงหรือไม่)

 

บริวารของเทพเจ้าแพน

    บรรดารุกขเทวดาและนางไม้ต่างเป็นบริววารของแพนเทพเจ้าผุ้ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ รวมทั้ง ไซเลนี (Silenni)  รุกขเทวดาผุ้ชรามีรูปร่างอ้วนและเกียจคร้านมีลาเป็นพาหนะ  แต่เนื่องจากชอบดื่มเหล้าองุ่รจึงมักพลาดตกหลังคาบ่อยๆ

    เหล่านางไม้ของเทพแพนมีอายุยืนกว่ามนุษย์ถึงหมื่นเท่า พวกนางดูสาวและสวยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นบรรดาเหล่านางพรายน้ำ  นางไม้ที่อยู่ตามต้นไม้ ภูเขา หุบเขา และน้ำพุ ผู้ที่เข้าไปตัดไม้หรือต้องการดื่มน้ำจากน้ำพุจะต้องขออนุญาตจากรุกขเทวดาหรือนางไม้ก่อน ไม่เช่นนั้นพวกนางอาจจะบันดาลให้เกิดเหตุเภทภัย เช่นขวานเกิดพลัดมาถูกผู้เป็นเจ้าของขณะกำลังตักต้นไม้  หรือน้ำพุมีพิษ  เป็นต้น

     เหล่านางพรายน้ำเป็นธิดาของเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ   เทพเจ้าเหล่านี้บนศีรษะมีของสองอันเหมือนเขาวัว และสามารถแปลงร่างได้ตามใจปรารถนา  เทพแพนและเหล่ารุกขเทวดาหรือแม้แต่มหาเทพซีอุสเองก็ไม่ค่อยชอบยุ่งเกี่ยวกับพวกเทพเจ้าแห่งแม่น้ำเท่าใดนัก

ตำนานเสียงะท้อน หรือ เอคโค่ (Echo)

    เทพแพนหลงรักนางไม้เอคโคซึ่งมีนิสัยร่าเริงชอบส่งเสียงพูดคุยได้ทั้งวัน  แม้จะพยายามใช้บทกวีนิพนธ์และเสียงดนตรีอันไพเราะเพื่อโน้มน้าวให้นางไม้เอคโคผู้งดงามหันมาสนใจ แต่นางก็พูดจ้อทั้งวันไม่มีเวลารับเสียงดนตรีจากเทพแพนเลย

    อยู่มาวันหนึ่งพระนางเฮรามเหสีเอกของมหาเทพซีอุสได้เสด็จลงมาตามหาพระสวามีซึ่งหนีมาอยู่กับบรรดานางไม้ที่เป็นพระชายา เอคโคพยายามช่วยถ่วงเวลาเอาไว้โดยชวนพูดคุยเรื่องเจื้อยแจ้วจนมหาเทพซีอุสสามารถหลบหนีไปได้  พระนางเฮรากริ้วจึงสาปให้นางเอคโคไม่สามารถพูดได้เอง  ต้องเลียนคำพูดของผู้อื่น กลายเป็นเสียงสะท้อนที่เรารู้จักกันดีว่าคือเสียง เอคโค

ตำนานกำเนิดนาร์ซิสซิส (Narcissus)

     เมื่อนางไม้เอคโคถูกพระนางเฮราสาป เทพแพนคิดว่าต่อไปนี้จะได้มีโอกาสพูดคุยและสารภาพรักกับนาง  แต่นางไม้เอคโคกลับไปหลงรักพรานป่าผู้สง่างามนามว่า นาร์ซิสซิส เอคโคคอยติดตามพรานหนุ่มด้วยความหลงใหล นางหวังว่าจะได้ยินคำพูดอันไพเราะของนาร์ซิสซิสแล้วจะสะท้อนเสียงพูดตาม  แต่เอคโคก็ต้องผิดหวัง เพราะเมื่อนาร์ซิสซิสดื่มน้ำในบ่อน้ำนิ่งแห่งหนึ่งเขาเกิดหลงใหลในความงามของชายหนุ่มที่เห็นบนผิวน้ำอันสดใสโดยไม่รู้เลยว่านั่นคือเงาของตัวเอง  เมื่อนาร์ซิสซิสสารภาพรักกับชายหนุ่มในน้ำ เอคโคก็สะท้อนเสียงของเขาอย่างมีความสุข

    นาร์ซิสซิสหลงความงามของตนเองจนลืมกินลืมดื่มในที่สุดก็เสียชีวิต  บริเวณนั้นได้เกิดดอกนาร์ซิสซิสผุดขึ้นมา และนางไม้เอคโคก็ยืมเศร้าโศกอยู่ข้างดอกไม้นี้จนตรอมใจตาย  เหลือไว้แต่เสียงสะท้อนหรือที่เรียกกันว่าเสียง เอคโค (Echo) ซึ่งบางครั้งฟังคล้ายเสียงสะท้อนจากปีศาจ แต่ความจริงแล้วเอคโคเป็นนางไม้ที่สวยงาม

    ซึ่งบางตำนานเล่าว่าผุ้ที่ทำให้นาร์ซิสซิสพร่ำเพ้อเฝ้าหลงรักตัวเองคือ เทพธิดาวีนัส (Venus) เทพธิดาแห่งความรักผู้เลอโฉม ทั้งนี้เพราะนาร์ซิสซิสจะปฏิเสธความรักจากหญิงทุกคนที่มาหลงใหลความสง่างามของตน เทพธิดาวีนัสถือว่าเท่ากับเป็นการสบประมาทเทพีแห่งความรักอย่างพระองค์ จึงสาปว่า

    “เมื่อเจ้าไม่มีหัวใจรักใคร ก็จงรักตัวเอง……  เมื่อเจ้าไม่มีตาสำหรับมองความงามของหญิงอื่น  ก็จงมองและหลงใหลแต่ความงามของตนเองไปเถิด”

ตำนานเครื่องดนตรีแพนไพป์

    เทพเจ้าแพนเศร้าโศกเสียใจกับการสูญเสียนางไม้เอคโคไม่นานเท่าใดนักก็ได้พบนางไม้ที่สวยงามกว่านามว่า ซีริงซ์ (Syrinx) แต่นางไม้ไม่ได้รักเทพเจ้าผู้อัปลักษณ์อย่างแพน  และพยายามวิ่งหนีเทพแพนซึ่งตามตื๊อขอความรัก  ในที่สุดนางแปลงตัวเป็นต้นอ้อ  เทพแพนรู้สึกเศร้าโศกจึงตัดต้นอ้อมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับเป่าชนิดหนึ่งเรียกว่า แพนไพป์ และตั้งชื่อเครื่องแพนไพป์เครื่องแรกนี้ว่า ซีริงซ์

    ทุกครั้งที่เทพแพนเป่าเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้  จะได้ยินเสียงอันไพเราะของนางซีริงซ์อันเป็นที่รัก  เสียงเพลงทำให้เทพแพนรู้สึกว้าเหว่จึงมักหลบไปอยู่ในถ้ำอย่างโดดเดี่ยว บางครั้งก็ส่งเสียงร้องอันประหลาด ทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาหวาดผวา

 

แหล่งอ้างอิง

ธนากิต.  (2546).  ตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษกรีก-โรมัน.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปิรามิด. 

Credit Photo : camphalfblood.wikia.com

Credit Photo : www.athenatheater.org

 

Visitors: 355,942